วันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2557

 
โครงงาน 5 บท



โครงงานเรื่อง
บัวลอยสมุนไพร


จัดทำโดย

นาย รังสิมันตุ์  บุหงารัตน์ เลขที่ 2 ม.4/1
นางสาว จุฑามาศ  ประสิทธินาวา  เลขที่ 7 ม.4/1 
นางสาว นนทิยา  ธงชัย เลขที่ 9  ม. 4/1 

นางสาว นิศาชล  สีวงษ์สา  เลขที่ 10 ม. 4/1 


เสนอ
อาจารย์  ศิริรัตน์  ปานสุวรรณ



โครงงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการงานเทคโนโลยีสารสนเทศ 
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556
โรงเรียนตราดสรรเสริญวิทยาคม  จังหวัดตราด
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 17





โครงงานเรื่อง... บัวลอยสมุนไพร
บทที่1 บทนำ
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
        บัวลอย  จัดเป็นอาหารที่คู่สำรับกับข้าวไทยมา ตั้งแต่ครั้งโบราณ โดยทั่วไปประชาชนจะทำขนมเฉพาะในงานเลี้ยง นับตั้งแต่การทำบุญเลี้ยงพระ งานมงคลและงานพิธีการ วัตถุดิบการทำที่กลมกลืน พิถีพิถัน ในเรื่องรสชาติ สีสัน ความสวยงาม กลิ่นหอม รูปลักษณะชวนรับประทาน ตลอดจนกรรมวิธีการรับประทาน ขนมแต่ละชนิด ซึ่งยังแตกต่างกันไปตามลักษณะของขนมชนิดนั้น ๆ
บัวลอย จัดเป็นขนมไทยอย่างหนึ่ง กล่าวได้ว่ามีอยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน เพราะเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง ที่บ่งบอกว่า คนไทยเรานั้นเป็นคนมีลักษณะนิสัยอย่างไรบ้าง เนื่องด้วย ขนมไทยแต่ละชนิด ล้วนมีเสน่ห์มี รสชาติ ที่แตกต่างกันออกไป แต่แฝงไปด้วยความละเมียดละไม ความวิจิตรบรรจง อยู่ในรูปลักษณ์ กลิ่น รสของขนมที่สำคัญ ขนมไทยแสดงให้เห็นว่าเป็นคนใจเย็นรักสงบมีฝีมือเชิงศิลปะ ซึ่งขนมเหล่านี้ส่วนใหญ่มักจะใช้และทำด้วยแป้ง น้ำตาล มะพร้าว เป็นส่วนประกอบสำคัญ สามารถดัดแปลงเป็นขนมหลายชนิด หน้าตา แตกต่างกัน


วัตถุประสงค์
  เพื่อสร้างสื่อด้วยโปรแกรมเพาเวอร์พอยต์ เรื่องบัวลอยสมุนไพร



บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
จาการศึกษา การทำบัวลอยสมุนไพร ผุ้จัดทำได้ศึกษาข้อมูล เอกสาร ทฤษฎี
ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1.            ใบเตย
2.            อัญชัน
3.            ฟักทอง
4.            ไข่ไก่
5.            มะพร้าว
           


ใบเตย

ชื่อวิทยาศาสตร์: Pandanusamaryllifoliusเป็นไม้ยืนต้นพุ่มเล็ก ขึ้นเป็นกอ ลำต้นอยู่ใต้ดิน ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับเวียนเป็นเกลียวขึ้นไปจนถึงยอด ใบเป็นทางยาว สีเข้ม ค่อนข้างแข็ง เป็นมัน ขอบใบเรียบ ในใบมีกลิ่นหอมจากน้ำมันหอมระเหย Fragrant Screw Pine สีเขียวจากใบเป็นสีของคลอโรฟิลล์ ใช้แต่งสีขนมได้
ในบังกลาเทศเรียกว่า ketakiใช้เพิ่มกลิ่นหอมของ ข้าวพิลาฟ หรือข้าวปุเลา บิรยานี และพุดดิ้งมะพร้าว payeshในอินโดนีเซียเรียก pandanwangiพม่าเรียก soon-mhwayในศรีลังกาเรียก rampeในเวียดนามเรียก ládaใบใช้ได้ทั้งใบสดและใบแห้ง และมีขายในรูปใบแช่แข็งในประเทศที่ปลูกไม่ได้ ใช้ปรุงกลิ่นในอาหารของหลายประเทศเช่น อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ไทย บังกลาเทศ เวียดนาม จีน ศรีลังกา และพม่า โดยเฉพาะข้าวและขนม
ประโยชน์จากใบเตย :สำหรับ "เตยหอม" นั้น ทุกคนน่าจะรู้จักกันดีใช่ไหมล่ะจ๊ะ โดยเฉพาะ "ใบเตย" ที่มักถูกนำมาผสมในอาหาร เพื่อให้อาหารมีกลิ่นหอมน่ารับประทาน แถมยังช่วยแต่งสีเขียวให้กับขนมไทยด้วย ซึ่งคนทั่วไปอาจจะรู้ว่าประโยชน์ของ "เตยหอม" มีเพียงเท่านี้ แต่จริง ๆ แล้ว นอกจาก "เตยหอม" จะมีดีที่ความหอมแล้ว ยังมีสรรพคุณทางยาที่ดีต่อสุขภาพแฝงอยู่ด้วยนะ
กล่องข้อความ: 3 

อัญชัน


ชื่ออังกฤษ: Asian pigeonwings
ชื่อวิทยาศาสตร์: Clitoriaternatea L.
เป็นไม้เถา ลำต้นมีขนนุ่ม มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ ปลูกได้ทั่วไปในเขตร้อน มีชื่อพื้นเมืองอื่นอีกคือแดงชัน (เชียงใหม่) และเอื้องชัน,เองชัญ (เหนือ)เมื่อคั้นออกมาจะได้เป็นสีฟ้า
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :อัญชันเป็นไม้เลื้อยเนื้ออ่อน อายุสั้น ใช้ยอดเลื้อยพัน ลำต้นมีขนปกคลุม ใบประกอบแบบขนนก เรียงตรงข้ามยาว 6-12 เซนติเมตร มีใบย่อยรูปไข่ 5-7ใบ กว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 3-5 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน ผิวใบด้านล่างมีขนหนาปกคลุม
ดอกสีขาว ฟ้า และม่วง ดอกออกเดี่ยว ๆ รูปทรงคล้ายฝาหอยเชลล์ออกเป็นคู่ตามซอกใบ กลีบดอก 5 กลีบ ดอกบานเต็มที่ยาว 2.5-3.5 เซนติเมตรกลีบคลุมรูปกลม ปลายเว้าเป็นแอ่ง ตรงกลางมีสีเหลือง มีทั้งดอกซ้อนและดอกลา ดอกชั้นเดียวกลีบขั้นนอกมีขนาดใหญ่กลางกลีบสีเหลือง ส่วนกลีบชั้นในขนาดเล็กแต่ดอกซ้อนกลีบดอกมีขนาดเท่ากัน ซ้อนเวียนเป็นเกลียว[2] ออกดอกเกือบตลอดปี ผลแห้งแตก เป็นฝักแบน กว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 5-8 เซนติเมตร เมล็ดรูปไต สีดำ มี 5-10 เมล็ด


สรรพคุณ :
·       ดอก ใช้สกัดสีทำเป็นสีผสมอาหาร ใช้ปลูกผมทำให้ผมดกดำ งามงามมากขึ้น เพราะดอกอัญชันมีสารที แอนโทไซยานิน” (Anthocyanin) ซึ่งช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้ดีมากขึ้น 
·       เมล็ด เป็นยาระบาย
·       ราก บำรุงตาแก้ตาฟาง ถูฟันแก้ปวดฟัน ตาแฉะ และปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ นำรากมาถูกับน้ำฝนใช้หยอดหูและหยอดตา



ฟักทอง


ฟักทอง (Squash; ญี่ปุ่น: カボチャ, 南瓜; Kabocha) เป็นพืชชนิดหนึ่ง ใช้ทำได้ทั้งอาหารคาว ของหวาน และเป็นอาหารว่างได้ด้วย ปกติฟักทองเมื่อแก่จัดจะมีสีเหลืองอมส้ม เป็นพืชมีเถา ปลูกได้ทั่วไปทั้งในเขตร้อนและเขตหนาว ในทางพฤกษศาสตร์ จัดอยู่ในสกุล Cucurbitaวงศ์ Cucurbitaceaeเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกา และแพร่กระจายไปทั่วโลก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์[แก้]

·       ฟักทองเป็นไม้เถาเลื้อยไปตามดิน มีมือสำหรับยึดเกาะ ลำต้นอวบน้ำ ใบเดี่ยวรูปห้าเหลี่ยม มีขนทั้งสองด้าน ดอกสีเหลืองรูปกระดิ่ง ผลฟักทองมีด้วยกันหลายลักษณะ บางครั้งเป็นผลเกือบกลมก็มี แต่โดยทั่วไปเป็นรูปทรงกลมแป้น ผิวขรุขระเล็กน้อย เมื่อยังดิบเนื้อค่อนข้างแข็ง
·       ฟักทองแบ่งเป็นตระกูลหลักสองตระกูลคือ ตระกูลฟักทองอเมริกัน (pumpkin) ขนาดผลใหญ่ เนื้อยุ่ย กับตระกูลสควอช (Squash) ได้แก่ฟักทองไทยและฟักทองญี่ปุ่นเปลือกแข็ง เนื้อแน่น
·       ฟักทองไทยมีหลายสายพันธุ์ เช่น คางคกดำ คางคกลาย ศรีเมือง ข้องปลา สีส้ม รูปร่างกลมแป้น ผิวขรุขระเล็กน้อย ดิบเปลือกสีเขียวเข้ม เมื่อสุกจึงเป็นสีเหลืองอมส้ม ฟักทองญี่ปุ่น หรือกะโบะชะ (Kabocha) อยู่ในตระกูลสควอช (Squash) เช่นเดียวกับฟักทองไทย ผลเป็นทรงกลมขนาดเล็ก เนื้อแน่น รสหวานมัน

กล่องข้อความ: 5
ประโยชน์และการใช้ :

ฟักทองถือเป็นพืชในตระกูลมะระ ชนิดไม้เถาขนาดใหญ่ ผิวผลขณะยังอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่จะแล้วจะมีสีเขียวสลับเหลือง ผิวไม่เรียบขรุขระเปลือกมีลักษณะแข็งเนื้อในสีเหลือง มีเส้นใยอยู่ภายในเป็นสีเหลืองนิ่มพร้อมกับเมล็ดสีขาวแบนๆ ติดอยู่ ประโยชน์ของฟักทองนั้นมีมากมาย สามารถนำมาใช้กินบำรุงร่างกายและรักษาโรคได้ดี



ไข่ไก่


ส่วนประกอบสำคัญของไข่ :
     คือ โปรตีน โดยมีกรดอะมิโนที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตถึง 10 ชนิด และยังอุดมไปด้วยวิตามินและเกลือแร่ที่สำคัญอีก 13 ชนิด

     ส่วนประกอบของฟองไข่ :
เปลือกไข่
     ประกอบด้วย แคลเซียมเป็นส่วนใหญ่ เปลือกไข่มีรูเล็ก ๆ มากกว่า 17,000 รู
ช่วยระบายความชื้นและรับอากาศเข้าสารเคลือบผิวป้องกันเชื้อแบคทีเรียไม่ให้เข้าฟองไข่
ไข่ขาว
     เป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญ มีลักษณะข้นและใส ส่วนที่ข้นอยู่ใกล้ไข่แดง
แต่เมื่อเก็บนานขึ้นความข้นจะลดลง ไข่ขาวทำหน้าที่พยุงให้ไข่แดงอยู่คงที่
ช่วยรองรับแรงกระเทีอนไม่ให้ไข่แดงแตกตัว


กล่องข้อความ: 6
ไข่แดง

     มีคุณค่าอาหารสูง ประกอบด้วยไขมัน และโปรตีนเล็กน้อย วิตามิน เอ ดี อี เกลือแร่
แร่ธาตุต่าง ๆ ได้แก่ ฟอสฟอรัส เหล็ก แคลเซียม และมีสังกะสี ไอโอดีน และ ซีลีเนียม สารต้านอนุมูลอิสระ วิตามินบีโฟเลต ไขมันไม่อิ่มตัวสีของไข่แดงขึ้นอยู่กับการกินอาหาร
ของแม่ไก่



มะพร้าว


มะพร้าว เป็นพืชยืนต้นชนิดหนึ่ง อยู่ในตระกูลปาล์ม เป็นพืชซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ได้ในหลายทาง เช่น น้ำและเนื้อมะพร้าวอ่อนใช้รับประทาน เนื้อในผลแก่นำไปขูดและคั้นทำกะทิ กะลานำไปประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ เช่น กระบวย โคมไฟ ฯลฯ นอกจากนี้มะพร้าวจัดเป็นพรรณไม้มงคลชนิดหนึ่ง ตามตำราพรหมชาติฉบับหลวง ได้กำหนดให้ปลูกมะพร้าวไว้ทางทิศตะวันออกของบ้าน เพื่อความเป็นสิริมงคล
ลักษณะทั่วไป

ลักษณะทั่วไป :
มะพร้าว เป็นพืชยืนต้น ใบมีลักษณะเป็นใบประกอบแบบขนนก ผลประกอบด้วยเอพิคาร์ป (epicarp) คือเปลือกนอก ถัดไปข้างในจะเป็นมีโซคาร์ป (mesocarp) หรือใยมะพร้าว ถัดไปข้างในเป็นส่วนเอนโดคาร์ป (endocarp) หรือกะลามะพร้าว ซึ่งจะมีรูสีคล้ำอยู่ 3 รู สำหรับงอก ถัดจากส่วนเอนโดคาร์ปเข้าไปจะเป็นส่วนเอนโดสเปิร์ม หรือที่เรียกว่าเนื้อมะพร้าว ภายในมะพร้าวจะมีน้ำมะพร้าว ซึ่งเมื่อมะพร้าวแก่ เอนโดสเปิร์มก็จะดูดเอาน้ำมะพร้าวไปหมด
กล่องข้อความ: 7
ขณะที่มะพร้าวยังอ่อน ชั้นเอนโดสเปิร์ม (เนื้อมะพร้าว) ภายในผลมีลักษณะบางและอ่อนนุ่ม ภายในมีน้ำมะพร้าว ซึ่งในระยะนี้เรามักสอยเอามะพร้าวลงมารับประทานน้ำและเนื้อ เมื่อมะพร้าวแก่ ซึ่งสังเกตได้จากการที่เปลือกนอกเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล


ประโยชน์:
ในผลมะพร้าวอ่อนจะมีน้ำอยู่ภายใน เรียกว่าน้ำมะพร้าว ใช้เป็นเครื่องดื่มเกลือแร่ได้ เนื่องจากอุดมไปด้วยโพแทสเซียม นอกจากนี้น้ำมะพร้าวยังมีคุณสมบัติปลอดเชื้อโรค และเป็นสารละลายไอโซโทนิก
ซึ่งด้วยเหตุนี้จึงสามารถนำน้ำมะพร้าวไปใช้ฉีดเข้าหลอดเลือดเวน ในผู้ป่วยที่มีอาการขาดน้ำหรือปริมาณเลือดลดผิดปกติได้
น้ำมะพร้าวสามารถนำไปทำวุ้นมะพร้าวได้ โดยการเจือกรดอ่อนเล็กน้อยลงในน้ำมะพร้าว
เนื้อในของมะพร้าวแก่ นำไปทำกะทิได้ โดยการขูดเนื้อในเป็นเศษเล็ก ๆ แล้วบีบเอาน้ำกะทิออก
กากที่เหลือจากการคั้นกะทิ ยังสามารถนำไปทำเป็นอาหารสัตว์ได้
ยอดอ่อนของมะพร้าว หรือเรียกอีกชื่อว่า  หัวใจมะพร้าว (coconut’s heart)  สามารถนำไปใช้ทำอาหารได้ ซึ่งยอดอ่อนมีราคาแพงมาก เพราะการเก็บยอดอ่อนทำให้ต้นมะพร้าวตาย
ด้วยเหตุนี้จึงมักเรียกยำยอดอ่อนมะพร้าวว่า ' สลัดเจ้าสัว' (millionaire's salad)
ใยมะพร้าว นำไปใช้ยัดฟูก ทำเสื่อ หรือนำไปใช้ในการเกษตร
น้ำมันมะพร้าว ได้จากการบีบหรือต้มกากมะพร้าวบด นำไปใช้ในการปรุงอาหารหรือนำไปทำเครื่องสำอางก็ได้ และในปัจจุบันยังมีการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันมะพร้าวอีกด้วย
กะลามะพร้าว นำไปใช้ทำสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ เช่น กระบวย โคมไฟ กระดุม ซออู้ ฯลฯ
ก้านใบ หรือทางมะพร้าว ใช้ทำไม้กวาดทางมะพร้าว
จั่นมะพร้าว (ช่อดอกมะพร้าว) ให้น้ำตาลจาวมะพร้าวใช้นำมาเป็นอาหารได้ ในจาวมะพร้าวมีฮอร์โมนออกซิน และฮอร์โมนอื่นๆแต่ มี ฮอร์โมนออกซินปริมาณมากที่สุด ซึ่งเมื่อนำไปคั้น และนำน้ำที่ได้จากจาวมะพร้าว ไปรดต้นพืช






กล่องข้อความ: 8
เคล็ดลับ

ถ้าอยากได้แป้งสีสวยๆเราต้องทำแบบนี้
·       สีขาว : แป้งบัวลอยธรรมดา
·       สีเขียว : ใบเตยคลาสสิค..ก็เอาใบเตยมาหั่น แล้วตำด้วยครก (ใครจะปั่นก็ไม่ว่า) แล้วคั้นเอาน้ำมา  นวดกับแป้งก็จะได้สีเขียวจ่ะ
·       สีน้ำเงิน : ใบดอกอัญชัญสดแช่น้ำ หรือ ไม่ก็ไปซื้ออัญชัญตากแห้งที่เค้าขายมาแช่น้ำก็ใช้ได้
สีเหลือง : ฟักทองบด ....ต้องเลือกฟักทองที่เนื้อไม่แน่นนะคะ 
                เพราะถ้าเนื้อแน่นมากจะบดไม่ละเอียด กลายเป็นกากแข็งๆ
               ที่สำคัญใช้แค่เนื้อฟักทองที่ต้มสุกแล้ว ไม่ใช้น้ำเลย และลดปริมาณแป้งลงเพราะ
                 เนื้อของฟักทองจะทำให้ปริมาณบัวลอยที่ได้เพิ่มขึ้นมาก..
                หากคนไม่เคยทำต้องกะให้พอดี เพราะแม้บัวลอยฟักทองจะปั้นง่าย แต่ถ้านิ่มเกินไป
                 ตอนลวกมาแล้วจะเละ และไปติดกับสีอื่นเป็นตังเมเลยทีเดียว




บทที่ 3 วัตถุดิบและอุปกรณ์

ส่วนผสมบัวลอย
1.             แป้งข้าวเหนียว ๒ ถ้วยตวง
2.             ใบเตย/อัญชัน/ ฟังทอง นึ่งสุกบดละเอียด 1 ถ้วยตวง ใบเตย/อัญชัน
3.             น้ำเปล่า ๑/๔ ถ้วยตวง
ส่วนผสมกะทิ
1.             กะทิ 2 ถ้วยตวง
2.             น้ำตาลมะพร้าว ๑๐๐ กรัม
3.             น้ำตาลทรายแดง ๑ ถ้วยตวง
4.             เกลือป่น ๑ ช้อนชา
5.             เนื้อมะพร้าวอ่อน,ไข่
วิธีทำ

1.ผสมแป้งข้าวเหนียว, ใบเตย/อัญชัน/ ฟังทองนึ่งและน้ำเปล่าเข้าด้วยกัน นวดจนส่วนผสมทุกอย่างเข้ากันเป็นเนื้อเดียว จากนั้นจึงนำมาปั้นเป็นลูกกลมๆ ระหว่างปั้นนั้น ควรโรยด้วยเศษแป้งข้าวเหนียวเล็กน้อยเพื่อป้องกันไม่ให้ลูกบัวลอยติดกัน
2.ต้มน้ำในหม้อขนาดกลาง รอจนเดือดจึงใส่ลูกบัวลอยที่ปั้นไว้แล้ว เมื่อบัวลอยสุก จะลอยขึ้นด้านบน ให้นำออกมาแช่ในน้ำเย็น
3.ผสม กะทิ, น้ำตาลมะพร้าว, น้ำตาลทรายแดงและเกลือป่นลงไป ควรใส่น้ำตาลทรายแค่ครึ่งเดียวก่อน ถ้ายังหวานไม่พอจึงค่อยใส่เพิ่มลงไป ต้มจนเดือด จึงหรี่ไฟลง นำบัวลอยที่ต้มไว้แล้วใส่ลงไปในน้ำกะทิ ต้มต่ออีกสักพักจึงปิดไฟ
4.ถ้ามีมะพร้าวอ่อนใส่พร้อมลูกบัวลอย กรณีต้องการทำบัวลอยไข่หวาน ก็ตอกไข่ใส่ไปในหม้อหลังจากที่ใส่บัวลอยลงไป รอจนไข่สุกจึงปิดไฟ



กล่องข้อความ: 10ภาคเรียนที 2 ปีการศึกษา 2556

ที่
กิจกรรม/รายการปฏิบัติ
ระยะเวลาการดำเนินการ(เดือน)
ผู้รับผิดชอบ
หมายเหตุ
20-25 .. 56
26-30 .. 56
1-15 .. 56
15-30 ..56


1.

ประชุม





สมาชิกในกลุ่ม

2.
หาข้อมูล





3.
เรียบเรียงข้อมูล





4.
จัดทำ, สร้างสื่อ





5.
สรุปผล






ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เป็นการนำกล้วยจากโรงเรียนที่จะทำในเรื่องโครงการเศรษฐกิจพอเพียงมาทำให้เกิดประโยชน์ที่หลากหลายขึ้น
2.ได้นำกล้วยกวนมาเป็นส่วนผสมกับขนมไทย
3.เป็นแนวทางในการทำกิจกรรมเสริมตามโครงการเสริมรายได้ระหว่างเรียน
4.ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
5.รู้จักนำเอาวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์และรู้จักการแปรรูปอาหาร ทำให้มีจุดที่น่าสนใจมาก


บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน

    จากการศึกษาการทำโครงงานเรื่องบัวลอยสมุนไพร เราได้ศึกษาจากอินเตอร์เน็ต แล้วนำมาจัดเรียงเป็นเพาเวอร์พอยต์ โดยแบ่งออกเป็น 14 สไลค์ มีเนื้อหา 9 สไลค์ ดั้งนี้




  


กล่องข้อความ: 12บทที่ 5 การสรุปผลการจัดสร้างโครงงานปัญหาและข้อเสนอแนะ

การสรุปผลการจัดสร้างโครงงาน
จาการทำโครงงาน บัวลอยสมุนไพร  ผู้จัดทำได้รับความรู้และประสบความสำเร็จ ดังนี้
1.             ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์
2.             รู้จักขั้นตอนในกานทำบัวลอย
3.             รายได้เกิดขึ้นในระหว่างเรียน
4.             มีประสบการณ์ในด้านการขาย และ บัญชี
5.             มีประสบการณ์ในการผลิต

ปัญหาการจัดสร้างโครงงาน
   ในการจัดทำโครงงานครั้งนี้อาจทำให้เกิดปัญหาในการทำบ้าง แต่ก็สามารถแก้ปัญหานี้ได้ เพราะมีที่ปรึกษา ดี
ข้อเสนอแนะ
   ผู้บริโภคแนะนำในตัวผลิตภัณฑ์ของบัวลอยสมุนไพร  ควรเพิ่มส่วนประกอบ เช่น
1. ลูกเดือย
2. ถั่วแดง
3. เผือก
4.ถั่วเหลือง
5. มัน  เป็นต้น
  นั้นการปั้นเม็ดบัวลอยนั้น ถ้าอยากจะได้สีมากยิ่งกว่านั้นให้น้เม็ดบัวลอย 2 สี ประกบ กันแล้วปั้น จะได้เม็ด
บัวลอยที่ดูน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น




 บรรณานุกรม

 สูตรการทำ บัวลอย เบญรงค์ไข่หวาน[ออนไลน์].